ประวัติความเป็นมา
สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย
ถูกสร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทหารประเทศญี่ปุ่น เพื่อใช้เป็นเส้นทางลำเลียงเสบียงและอาวุธข้ามแม่น้ำปาย เข้าไปยังประเทศพม่า มีประวัติความเป็นมาดังนี้
ถูกสร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทหารประเทศญี่ปุ่น เพื่อใช้เป็นเส้นทางลำเลียงเสบียงและอาวุธข้ามแม่น้ำปาย เข้าไปยังประเทศพม่า มีประวัติความเป็นมาดังนี้
พ.ศ. 2482 ความขัดแย้งเกิดขึ้นในวงกว้าง ครอบคลุมเกือบทุกประเทศ และทุกทวีป เกิดเป็นมหาสงครามโลกครั้งที่ 2
สะพานประวัติศาสตร์ ปาย |
พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร และได้เคลื่อนกำลังพลเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทย เพื่อลำเลียงเสบียงอาหารและยุทโธปกรณ์ต่างๆ โดยผ่านจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อเข้าโจมตีประเทศพม่า (เมืองขึ้นของประเทศอังกฤษในขณะนั้น) แต่ด้วยการเดินทัพอันยากลำบาก บนเส้นทางที่เป็นหุบเหว และมีลำน้ำปายขวางกั้น กองทหารญี่ปุ่นจึงได้เกณฑ์ชาวไทยจากหมู่บ้านต่างๆ ให้ขุดถางเส้นทางจากจังหวัดเชียงใหม่ไปยังจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยจ่ายเป็นค่าจ้างแรงงานต่อคนวันละ 50 สตางค์ - 1.50 บาท ในขณะเดียวกันชาวบ้านอีกฝั่งหนึ่งจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน ก็ถูกเกณฑ์ว่าจ้างให้ขุดถางเส้นทางมุ่งหน้าไป
จังหวัดเชียงใหม่ โดยมาบรรจบกันที่ฝั่งแม่น้ำ บริเวณบ้านท่าปาย อำเภอปาย แล้วจึงร่วมแรงกันใช้ช้างลากไม้ใหญ่หน้า 30 นิ้ว ออกจากป่า ตั้งเป็นเสาสร้างขึ้นเป็นสะพาน บรรจบทั้งสองฝั่งเข้าด้วยกันเหนือแม่น้ำปาย กลายเป็นเส้นทางและสะพานแห่งประวัติศาสตร์สงคราม
จังหวัดเชียงใหม่ โดยมาบรรจบกันที่ฝั่งแม่น้ำ บริเวณบ้านท่าปาย อำเภอปาย แล้วจึงร่วมแรงกันใช้ช้างลากไม้ใหญ่หน้า 30 นิ้ว ออกจากป่า ตั้งเป็นเสาสร้างขึ้นเป็นสะพาน บรรจบทั้งสองฝั่งเข้าด้วยกันเหนือแม่น้ำปาย กลายเป็นเส้นทางและสะพานแห่งประวัติศาสตร์สงคราม
พ.ศ. 2489 สงครามโลกสิ้นสุดลง กองทหารญี่ปุ่นได้ถอยทัพกลับ และทำการเผาสะพานไม้ทิ้ง ส่งผลให้ชาวเมืองที่เคยใช้สะพานร่วมกับทหารญี่ปุ่น ต่างเกิดความไม่สะดวกที่ต้องกลับไปใช้วิธีโดยสารทางเรือ ซึ่งขุดจากไม้ซุงเพื่อข้ามฟาก ชาวบ้านซึ่งเคยชินกับการใช้สะพานข้ามลำน้ำ ต่างได้ร่วมแรงกันสร้างสะพานไม้ขึ้นมา เพื่อใช้ข้ามแม่น้ำปายอีกครั้ง
พ.ศ. 2516 เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในเดือนสิงหาคม ส่งผลขั้นรุนแรง ทำลายเรือกสวนไร่นาเสียหาย รวมทั้งน้ำป่าได้พัดสะพานไม้หายไป ทางอำเภอปายจึงได้ทำเรื่องขอสะพานเหล็ก "นวรัฐ" เดิมของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นไม่ได้ใช้การแล้ว นำมาใช้แทนสะพานไม้ที่ถูกกระแสน้ำพัดทำลายไป
พ.ศ. 2518 สะพานนวรัฐจากจังหวัดเชียงใหม่ ได้ถูกทยอยขนย้ายขึ้นมาประกอบใช้ใหม่ ที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
พ.ศ. 2519 หลังจากนั้น 1 ปีเต็ม จึงได้ประกอบขึ้นจนแล้วเสร็จ เป็น "สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย" ในปัจจุบัน
สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย อยู่ที่บ้านท่าปาย ตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ก่อนถึงตัวอำเภอปาย ประมาณ 10 กิโลเมตร บนเส้นทางหมายเลข 1095 ถือเป็นหน้าด่านของอำเภอปาย
สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย มีลักษณะคล้ายกับสะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี ที่เป็นเส้นทางประวัติศาสตร์ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพญี่ปุ่นใช้เป็นเส้นทางเดินทัพจากเชียงใหม่ ผ่านอำเภอปายไปยังประเทศพม่า แต่เดิมนั้นเป็นสะพานไม้ ภายหลังสงครามสิ้นสุดทหารญี่ปุ่นถอยทัพกลับได้เผาทำลายสะพานไม้ทิ้ง และชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างขึ้นมาใหม่อีกครั้ง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2516 เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ สะพานถูกน้ำพัดหายไป ทางอำเภอจึงได้ขอสะพานเหล็ก "นวรัฐ" เดิมของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นไม่ได้ใช้การแล้วมาใช้ทดแทน ซึ่งก็คือ "สะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย" ในปัจจุบัน
ปัจจุบันจะมีสะพานปูนสร้างอยู่เคียงข้าง แต่สะพานประวัติศาสตร์เก่าแก่แห่งนี้ก็ยังได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว ที่มาเยือนอำเภอปายอยู่เป็นประจำ โดยแต่เดิมนั้นเป็นเหล็ก และทางเดินไม้ที่ทรุดโทรม ไม่สามารถเดินได้ แต่ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงใหม่นักท่องเที่ยวสามารถเดินไปบนสะพานเพื่อชมวิว และถ่ายรูปเป็นที่ระลึกได้
ใกล้กับสะพานจะมีรีสอร์ทที่พักต่างๆ ร้านกาแฟ (Coffee Tea Sapan) สำหรับนั่งเล่นและชมวิว มีร้านค้าขายของข้างทางทั้ง 2 ฝั่ง นอกจากนี้ยังมีท่าแพที่ให้บริการล่องแพอีกด้วย
เด็ก, เยาวชน, ผู้ใหญ่, ครอบครัว, คนชรา, คู่รัก, เที่ยวคนเดียว, เที่ยวเป็นกลุ่ม, เที่ยวเป็นคู่
นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวชมสะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย สามารถเดินข้ามสะพานไปมา เพื่อสัมผัสกับบรรยากาศของลำน้ำปาย (แต่ให้ระวังจุดที่สะพานเสียหายเป็นหลุมด้วย)
ไม่เสียค่าธรรมเนียม - ค่าเข้าชม
ททท.สำนักงานแม่ฮ่องสอน
โทรศัพท์: 053-612-982 - 3
โทรสาร: 053-612-984
โทรศัพท์: 053-612-982 - 3
โทรสาร: 053-612-984
ยังไม่เคยไปปายเลยค่ะ
ตอบลบเกรงจะเปลี่ยนไปมากมายแล้วแบบเชียงคาน
ครับพี่ตุ้ม ขอบคุณครับ
ลบ